ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ค้นหา
คำค้นยอดนิยม: mp3programโปรแกรมหนังรูป
ดู: 6846|ตอบ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

''หลุม'' ประหลาด หลุมไหนน่ากลัวที่สุด... [คัดลอกลิงก์]


หนุ่มหร่อคนนี้-ไม่ได้ออนไลน์
dwebsale
       

สมาชิกคนที่: 1
กลุ่ม: ผู้ดูแลระบบ
ตั้งกระทู้: 134 กระทู้

ตอบกระทู้: 198 กระทู้
มีเพื่อนคบด้วย: 7 คน
เครดิต: 4462 จุด
999
1262
999


วันที่สมัคร: 2011-10-14
ใช้งานล่าสุด: 2020-3-2
ออนไลน์รวม: 278 ชั่วโมง
EXP:
-----เหรียญเกียรติยศ-----
~*~AdMiN~*~
''หลุม'' ประหลาด หลุมไหนน่ากลัวที่สุด...
รวบรวมหลุมยุบ หรือ sink hole ทั้งที่เกิดโดยฝีมือมนุษย์ และที่เกิดโดยธรรมชาติ


Kimberley Big Hole - ประเทศ South Africa

หลุมที่ 1
Kimberley Big Hole - ประเทศ South Africa
เป็นหลุมที่เกิดขึ้นจากการขุดเหมืองเพชร ซึ่งลึกประมาณ1097เมตร
ผู้ได้สัมปทานได้ขุดค้นพบเพชรนำหนักรวมกันมากกว่า 3 ตัน
ก่อนที่จะปิดเหมืองเมื่อปี ค.ศ1914


Glory Hole - Monticello Dam, California

หลุมที่ 2
Glory Hole - Monticello Dam, California
(รูแห่งความรุ่งโรจน์) เขื่อนมอนติเซลโล รัฐแคลิเฟอร์เนืย สหรัฐอเมริกา
หลุมท่อระบายน้ำขนาดใหญ่สำหรับรองรับในกรณีที่น้ำล้นเขื่อน
และต้องการระบายออก หลุมนี้รองรับการระบายน้ำได้มากกว่า 14,400 คิวบิคฟิต/วินาที

Bingham Canyon Mine

หลุมที่ 3
Bingham Canyon Mine, Utah เหมืองบิงแฮม แคนยอน รัฐยูท่าห์ สหรัฐอเมริกา
กล่าวได้ว่าหลุมนี้เป็นหลุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากการขุดของน้ำมือมนุษย์
เริ่มขุดตั้งแต่ปี คศ.1863 จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังขุดอยู่ ลึก 3/4 ไมล์ กว้าง 2.5 ไมล์

Great Blue Hole

หลุมที่ 4
Great Blue Hole , Belize เกรทบลูโฮล ประเทศเบลิส
หลุมนี้เป็นหลุมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เรียกว่าหลุมสีน้ำเงิน
อยู่ในทะเลห่างจากชายฝั่งประเทศเบลิซ ประมาณ 60 ไมล์ แม้ว่าโลกนี้จะมีหลุมสีน้ำเงินหลายแห่ง
แต่หลุมนี้ใหญ่ที่สุด ตายกันมาหลายศพแล้วพี่น้อง

"โคตรหลุมสีฟ้า" - The Great Blue Hole

The Great Blue Hole คือหลุมขนาดยักษ์ที่จมอยู่ใต้น้ำนอกชายฝั่งของ Belize
ตั้งอยู่ใกล้เขตศูนย์กลางของ Lighthouse Reef ซึ่งเป็นเกาะปะการังขนาดย่อม
ประมาณ 100 กม. (62 ไมล์) จากชายฝั่งเมือง Belize เขตพื้นที่แนวหินโสโครกนี้ทอดตัวยาว
ประมาณ 1,000 ฟุต และเป็นที่อยู่สุดสบายของปะการังจึงทำให้เขตนี้เป็นเขตปะการัง
ที่อุดมสมบูรณ์และสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง

The Great Blue Hole นี้มีขนาดกว้างประมาณ 300 ม.(984 ฟุต)
และลึกประมาณ 125 ม.(410 ฟุต) เองครับ !!! รูปร่างของหลุมเป็นลักษณะเหมือนถ้ำครับ
สันนิษฐานกันว่ามันก่อตัวขึ้นในยุคน้ำแข็ง ซึ่งระดับน้ำทะเลในขณะนั้นอยู่ที่
ประมาณ 100-120 ม. (330-390 ฟุต) ซึ่งต่ำกว่าในปัจจุบันครับ
โดยคาดว่าแรกเริ่มเดิมทีมันเคยเป็นถ้ำหิน Limestone มาก่อน
ต่อมาพอระดับน้ำทะเลสูงขึ้นก็เลยท่วมถ้ำจนหมด เพดานถ้ำโดนน้ำเซาะจนพังทลาย
และยุบตัวซ้ำๆ จนกลายเป็นหลุมกลวงโบ๋อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
โดยมีอุณหภูมิที่ความลึก 130 ฟุต (40 เมตร) ประมาณ 76 องศา F (24 C) ตลอดทั้งปี

ลักษณะแท้จริงของ The Great Blue Hole คือเป็นถ้ำหินปูนใต้ทะเล

The Great Blue Hole ยังเป็นสุสานของนักดำน้ำมากมายด้วย
สาเหตุของการตายของนักดำน้ำเพราะที่ระยะ 60 ม.
นักดำน้ำจะเกิดอาการ Nitrogen narcosis ทำให้หมดสติได้ ประกอบกับปากอุโมงค์
เห็นยากเพราะมีลักษณะเป็นหลุมที่ลึกและมืด ทำให้นักดำน้ำที่ยังอยากลงไป
พบจุดจบมากๆต่อมากแล้ว แต่ยังมีนักประดาน้ำจัดอันดับให้มันเป็น 1 ใน 7
สถานที่ดำน้ำประเภทที่สุดของโลกอยู่ดี

มารู้จักกับอาการ.. Nitrogen Narcosis กัน...
Nitrogen Narcosis หรือที่เรียกว่า เมาไนโตรเจน จะเกิดขณะที่เราดำน้ำภายใต้ความลึก
ยิ่งความลึกเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ ความกดดันจะเพิ่มขึ้นทุกความลึกที่ 10 ม., 20 ม. ,30 ม.ฯลฯ
การเพิ่มขึ้นของความกดดัน จะเป็นผลให้ Nitrogen
ที่มีอยู่ในอากาศที่เราใช้ในการหายใจ จะละลายเข้าสู่เนื้อเยื่อ
และของเหลวในร่างกายเรา ยิ่งลงไปลึกมาก นานมาก ปริมาณไนโตรเจนก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย
--ไนโตรเจน จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเมา...
การลอยตัวกลับขึ้นสู่ที่ตื้น อาการดังกล่าวก็จะกลับสู่อาการปกติ...
--"กฎของมาร์ตินี่ Martini's law" กล่าวว่า การดำน้ำลงไปทุกๆ 10 ม.
จะเท่ากับคุณดื่มมาร์ตินี่ 1 แก้ว (ไม่ต้องกินเหล้าแล้ว ไปดำน้ำดีกว่า เมาเหมือนกัน ฮี่..ฮี่..)
--อาการที่เกิด ต้องระวังให้มากนะ เพราะอาการที่ผมเคยเป็นคือ หมดสติ
ระดับความลึกที่เป็น 100 ฟุต/30 ม.

หลุมที่ 5
Mirny Diamond Mine , ประเทศ Serbia


ลูกศรแดงๆ นั่นคือรถบรรทุก คิดดูละกันว่าใหญ่ขนาดไหน

หลุมนี้เป็นหนึ่งในบรรดาหลุมใหญ่ๆที่ขุดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ เป็นเหมืองเพชรขนาดใหญ่
ของประเทศเซอร์เบีย ลึก 525เมตร และปากหลุมกว้างขนาด 1200 เมตร
เคยประกาศเป็นเขตห้ามบินผ่าน เพราะในอดีตหลุมนี้เคยดูด
เครื่องบินเฮลิคอบเตอร์ตกลงไปหลายลำ

หลุมที่ 6 Diavik Mine, ประเทศ Canada


Diavik Mine, ประเทศ Canada

หลุมที่ 6
Diavik Mine, ประเทศ Canada
หลุมนี้เป็นหลุมของเหมืองขนาดใหญ่ของเหมืองDiavik ประเทศแคนาดา
ใหญ่ขนาดไหนเหรอ? อิอิ..ก็ใหญ่ขนาดมีรันเวย์ของเครื่องบิน Boeing 737 ขึ้นลงได้อย่างสบายๆ

หลุมที่ 7 หลุมแผ่นดินไหว

หลุมที่ 7 หลุมแผ่นดินไหว
หลุมนี้เกิดขึ้นเองเมื่อต้นปี 2551 ที่ผ่านมานี่เอง ที่ประเทศกัวเตมาลา
เป็นหลุมที่เกิดจากการทรุดของแผ่นดินและดูดเอาบ้านนับสิบหลังและฆ่าชาวบ้านไป 3 ศพ
จมหายลงไปในแผ่นดิน มีความลึกถึง 100 เมตร




หลุมแผ่นดินไหว


หลุมที่ 8 หลุมอุกาบาต
อุกกาบาตขนาดใหญ่ที่พุ่งชนโลกอย่างแรง ทำให้เกิดหลุมลึกบนพื้นโลกเรียกว่า
เครเตอร์ หลุมอุกกาบาตใหญ่ที่สุดบนโลก คือ หลุมแบริงเยอร์ ในรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา
คาดว่า เกิดจากอุกกาบาตชนิดเหล็กหนักถึง 1 ล้านตัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เมตร
ตกกระแทก พื้นโลกเป็นหลุมมหึมา ปากหลุมกว้าง 1,200 เมตร ลึก 170 เมตร
ความลึกเท่ากับตึกสูง 40 ชั้นทีเดียว หลุมแบริงเยอร์อายุประมาณ 22,000 ปี

หลุมที่ 8 หลุมอุกาบาต

หลุมที่ 9 "ประตูสู่นรก" Hell Gate (Uzbekistan)
สถานที่อันสวยงามอย่างน่าสพรึงกลัว
อยู่ใกล้เมืองเล็กๆ ชื่อ Darvaz ของประเทศอุเบกิซสถาน
ค้นพบโดยบังเอิญจากการขุดแก๊สเมื่อ 35 ปีก่อน

หลุมที่ 9 "ประตูสู่นรก" Hell Gate (Uzbekistan

เป็นหลุมใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยแก๊สพิษมากมาย คนขุดไม่รู้จะทำยังไงเลยจุดไฟเผาซะเลย
ปรากฎว่าเผามาแล้ว 35 ปี ไฟมันยังไม่เคยดับเลยแม้แต่วินาทีเดียว...

ยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่า มันจะหยุดเมื่อใดทุกวันนี้ยังไม่มีใครกล้าลงไปสำรวจ




ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ omisung

ไฟล์แนบ: คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีแอคเคานต์หรือยังไม่ได้เป็นสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก
~*~ อยากเห็นคนไทย ช่วยเหลือและแบ่งปันกัน ~*~
                  Pass =
www.dwebsale.com

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

ปิด

==> กระซิปจาก DwebsaleTeam <==

ตัวอย่างธีมวิทยุ
ตัวอย่างธีมวิทยุ

ประกาศ==>> ขณะนี้ทาง Dwebsale.com มีธีมวิทยุออนไลน์ให้ท่านได้เลือกใช้ 6 ธีม เพื่อนๆสามารถดูตัวอย่างธีมได้เลยจ้า

คลิ๊กเพื่อดูจ้า

ดู »

Archiver|http://www.dwebsale.com
Page Rank

GMT+7, 2024-12-26 17:45 , Processed in 0.032090 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X2Theme by eRic.

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน